knowledge

ติวออกแบบนิเทศศิลป์ เรียนเกี่ยวกับอะไร ติวอย่างไรให้ติดคณะนี้

การติวออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นการเรียนที่เน้นเนื้อหาในการสร้างสรรค์งานออกแบบสื่อสารต่าง ๆ หลักสูตรของเราจะเน้นการเรียน ตั้งแต่ทฤษฎีศิลป์ การปฏิบัติและการฝึกคิดงานอย่างสร้างสรรค์ที่จะทำให้ผลงานพอร์ตมีความโดดเด่นและแตกต่าง ติวออกแบบนิเทศศิลป์ เรียนจบมหาวิทยาลัยไปแล้ว ทำงานด้านไหนได้บ้าง น้อง ๆ ที่เรียนจบทางด้านนี้สามารถประกอบอาชีพเกี่ยวกับสื่อได้หลากหลายมาก เช่น นักออกแบบแอนิเมชั่น นักออกแบบภาพประกอบ (เว็บตูน,การ์ตูน,นิยาย,ปกหนังสือ) นักออกแบบเว็บไซต์ นักออกแบบสิ่งพิมพ์ นักออกแบบการสื่อสารการตลาด นักออกแบบโฆษณา นักถ่ายภาพ การออกแบบ Packaging นักออกแบบ Branding และอื่น ๆ อีกมากมาย

การเรียนสาขาออกแบบนิเทศศิลป์สามารถยื่นเข้าได้หลายสาขาและหลายคณะ เราจะเน้นหนักในด้านการฝึกทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบให้เหมาะกับคณะและมหาวิทยาลัยเป้าหมายของน้อง ๆ

คณะด้าน ออกแบบนิเทศศิลป์ มีคณะอะไรบ้างที่น้อง ๆ นิยมเลือกกัน

  • สาขาเรขศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สาขาออกแบบการสื่อสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์(CommDe) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์(SoA+D) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด)
  • หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ (MUIC)
  • สาขาดิจิทัลอาร์ต / สาขามีเดียอาร์ต / สาขาแอนิเมชั่น อีกหลายสาขาที่น้อง ๆ สนใจ

4 หัวข้อสำคัญในการ ติวออกแบบนิเทศศิลป์

  1. Intro to graphic พื้นฐานงานศิลปะเบื้องต้นและองค์ประกอบศิลป์ในการทำงานเกี่ยวกับการออกแบบนิเทศศิลป์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างงานศิลปะที่ช่วยให้ได้ผลงานที่มีความสวยงาม น่าสนใจ สื่อความหมายได้ชัดเจน และสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ที่พบเห็น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และทักษะการสื่อสาร ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับนักออกแบบกราฟิก
  2. การคิดคอนเซ็ปด์ ถึงแม้จะนำเสนอออกมาได้สวยงามแต่ไม่สื่อสารก็ถือได้ว่างานออกแบบชิ้นนั้นไม่มีคุณภาพที่เพียงพอในการนำมาใช้งาน การคิดคอนเซ็ปด์เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้การออกแบบมีทิศทางที่สื่อความหมายได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การคิดคอนเซ็ปต์ เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ยิ่งฝึกฝนมาก ไอเดียก็จะยิ่งล้ำ สร้างสรรค์ และน่าสนใจมากขึ้น
  3. เทคนิคการทำพอร์ตโฟลิโอ การทำพอร์ตโฟลิโอ เปรียบเสมือนใบเบิกทางสู่มหาวิทยาลัยในฝัน พอร์ตโฟลิโอจึงเป็นเสมือนตัวแทนที่แสดงศักยภาพของนักเรียนเป็นการรวบรวมทักษะและความสร้างสรรค์ในการออกแบบในสไตล์ของตัวเอง 
  4. ประเมิน และกำหนดชิ้นงาน มีการประเมิน และกำหนดชิ้นงาน ในการทำพอร์ตตามความถนัด และความหลากหลายที่เหมาะสมกับน้อง ๆ แต่ละคน โดยจะพิจารณาจากความถนัดของเด็กแต่ละคนเพื่อประเมินแนวทางในการทำพอร์ตโฟลิโอ รวมทั้งจะแนะนำวิธีการปรับแก้ไขงานออกแบบเพื่อให้ได้มาตรฐานในการทำพอร์ตโฟลิโอที่จะทำให้การยื่นเข้าคณะนั้น ๆ พอร์ตโฟลิโอของน้อง ๆ จะช่วยให้แสดงทักษะและผลงานได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการได้รับงานหรือการยอมรับในวงการที่สนใจ
BAK.ING.SO.DA ติวออกแบบนิเทศศิลป์ อย่างไร น้อง ๆ ถึงสอบติดคณะด้านนี้จำนวนมาก เรามีเนื้อหาหลักสูตรและรูปแบบการสอนที่เราเตรียมไว้สำหรับ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ให้น้อง ๆ โดยเฉพาะ ในแต่ละมหาวิทยาลัย จะมีแนวทางผลงานในการยื่นพอร์ตที่แตกต่างกัน เรามีทีมผู้สอนที่จบจากจุฬาและศิลปากรเฉพาะด้านที่สามารถดูแลน้อง ๆ ได้ตรงกับสาขาที่น้อง ๆ อยากเข้า และยังแบ่งกลุ่มเรียนให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำ และการแก้ไขงานออกแบบได้แบบตัวต่อตัว เพื่อให้เข้าถึงน้อง ๆ แต่ละคนอย่างใกล้ชิด ทีมผู้สอนเน้นการลงมือปฏิบัติจริงให้น้อง ๆ ได้ฝึกฝนทักษะอย่างสม่ำเสมอ ใช้ สื่อการสอนที่ทันสมัย เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้น้อง ๆ คิด วิเคราะห์ หาไอเดีย และ สร้างสรรค์ผลงาน ของตัวเองได้อย่างอิสระ

นอกจากหลักสูตรติวออกแบบนิเทศศิลป์แล้ว BAK.ING.SO.DA มีติวอะไรบ้าง
ศิลปะและการออกแบบยังมีอีกหลากหลายสาขาที่เราเปิดสอน เช่น ติววาดเส้นมัณฑนศิลป์, ติวความถนัดทางสถาปัตย์ ติวออกแบบภายใน, , ติวออกแบบเครื่องแต่งกาย, ติวออกแบบผลิตภัณฑ์, ติวทัศนศิลป์ ติวประยุกต์ศิลป์ สถานที่เรียนของเราเดินทางสะดวก ปลอดภัย อาคารติดทางออกรถไฟฟ้า BTS สถานีราชเทวี

สนใจติวออกแบบนิเทศศิลป์ ติดต่อเรา BAK.ING.SO.DA arthouse&studio
LINE@ : @bakingsodastudio
โทร : 092-494-4415
ที่อยู่ : 294/1 อาคารเอเซีย ชั้น 12 ถนนพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

Author