ติวสถาปัตย์อย่างไรให้สอบติดรวมถึง เทคนิคเตรียมตัวทั้งภาคทฤษฎี และ ปฏิบัติ
ทำความเข้าใจโครงสร้างการสอบเข้าคณะสถาปัตย์เพื่อจะได้ติวสถาปัตย์อย่างตรงจุดรู้จักกับระบบ TCAS และ รอบที่เกี่ยวข้องโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในหลายมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั้นจะรับสมัครผ่านระบบ TCAS ซึ่งมีหลายรอบ เช่น
- TCAS รอบ 1 Portfolio จะเน้นแฟ้มสะสมผลงาน
- TCAS รอบ 2 เป็นโควตาจะเหมาะสำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่/โครงการพิเศษ
- TCAS รอบ 3 Admission จะใช้คะแนนสอบ GAT-PAT และ วิชาสามัญ
- TCAS รอบ 4 รับตรงกลาง และ รอบ 5 รับตรงอิสระ เป็นต้น
การทำ Portfolio สถาปัตย์ให้โดดเด่น
- สิ่งที่ควรมีใน Portfolio
Portfolio คือหัวใจสำหรับที่สุดในการเข้าคณะสถาปัตย์รอบ 1 ส่วนประกอบต่าง ๆ จึงต้องนำเสนอตัวตนและเป้าหมายของเราอย่างชัดเจน สร้างสรรค์ หลากหลาย และ และโดดเด่น ตั้งแต่ปกแฟ้ม ทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผลงานที่หลากหลาย Drawing เช่น วาดเส้น ทิวทัศน์ , ผลงานออกแบบสร้างสรรค์เชิงสถาปัตยกรรม เช่น โมเดลจำลอง ภาพประกอบต่าง ๆ รวมถึงผลงานอื่น ๆ เช่น งานศิลปะ งานกราฟิก และ ภาพกระบวนการคิด ( Sketch, Diagram,Analysis ) เพื่อให้ผู้พิจารณาเข้าใจถึงความสร้างสรรค์ของน้อง ๆ ได้ชัดเจน - เคล็ดลับการทำ Portfolio ให้เข้าตาผู้คัดเลือก
การทำ Portfolio นั้นใคร ๆ ก็สามารถทำได้แต่จะทำอย่างไรให้ พอร์ตของเราโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ เราควรเรียงลำดับการเล่าเรื่อง และรู้จักสไตล์การนำเสนอที่ผู้คัดเลือกในแต่ละมหาวิทยาลัยชื่นชอบ เรียกได้ว่า ทำงานให้ตรงจุด ก็จะเรียกคะแนนจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ อยากเข้าได้แล้ว ซึ่งพี่ติวของ BAKINGSODA STUDIO ทุกคนสามารถแนะนำและช่วยปรับแนวทางผลงานของน้อง ๆ ให้ได้เปรียบและตรงกับแต่ละคณะได้แน่นอน
- TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตย์
- ข้อสอบทักษะวาดเส้น / Drawing Test
- Portfolio สถาปัตย์
- สัมภาษณ์

เข้าใจหลักการติวสถาปัตย์เพื่อเตรียมสอบภาคทฤษฎี
- วิชาสามัญที่ใช้บ่อย
สำหรับแนวทางในการติวสถาปัตย์ในภาคทฤษฎีนั้น จะมุ่งเน้นในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ 1, 2 ,ฟิสิกส์ (บางมหาวิทยาลัย) ,ภาษาไทย ,ภาษาอังกฤษ และ สังคมศึกษา - TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตย์
อีกทั้งจะต้องมุ่งเน้นในการติวสถาปัตย์ TPAT4 เป็นข้อสอบเฉพาะทางที่ใช้วัดความสามารถในการเป็นสถาปนิก โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ วัดการคิดวิเคราะห์ และ ตรรกะ ,วัดความเข้าใจในรูปทรง มิติ และ พื้นที่,วัดความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรม และ การออกแบบ ซึ่งทั้งหมดนี้หากเรียนติวสถาปัตย์ จะมีเทคนิคการเตรียมตัวให้ฝึกทำโจทย์เก่า PAT4 ทุกปี อีกทั้งยังแนะนำการอ่านหนังสือทฤษฎีเบื้องต้น เช่น องค์ประกอบศิลป์ สถาปัตยกรรมพื้นฐาน และ ยังมีการเรียน และ ฝึกใช้ตรรกะ คณิตศาสตร์เบื้องต้น และ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ อย่างเหมาะสม
เข้าใจหลักการติวสถาปัตย์ภาคปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะวาด และ ออกแบบ
- การฝึกวาดเส้นสถาปัตย์ (Architecture Drawing)
การติวสถาปัตย์ วาดเส้นสถาปัตย์เป็นพื้นฐานซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการสอบเข้าคณะสถาปัตย์หลายแห่ง เช่น จุฬา ลาดกระบัง ศิลปากร สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นในการติว ได้แก่ ฝึกการเขียนทัศนียภาพ(Perspective View) แบบ 1 จุด และ 2 จุด การจัด Composition ฝึกเขียนแสงเงาและน้ำหนักมือในงานสถาปัตย์ (Deline) ทำความเข้าใจรูปทรงสามมิติ (isometric) - การฝึกออกแบบ
หากเราติวสถาปัตย์ จนเริ่มชำนาญแล้วผู้เรียนได้ฝึกการออกแบบงานสถาปัตย์ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเตรียมพอร์ต การทำ Sketch Design และฝึกใช้โปรแกรมในการนำเสนองานสถาปัตย์ เช่น Sketch 3ds Max AutoCad Photoshop เป็นต้น

การสอบเข้าคณะสถาปัตย์ คือ การทดสอบทั้งความรู้ ความสามารถ และความตั้งใจในเวลาเดียวกัน คนที่ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุดเสมอไป แต่คือคนที่มีเป้าหมาย ชัดเจน ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และเชื่อมั่นในกระบวนการของตนเอง
หากคุณกำลังมองหา สถาบันติวสถาปัตย์ ที่เข้าใจเส้นทางนี้อย่างแท้จริง เราขอแนะนำ Baking Soda Arthouse & Studio สถาบันสอนศิลปะและการออกแบบที่เปิดสอนครบทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น คอร์สติวสถาปัตย์ วาดเส้น Drawing ติวออกแบบนิเทศศิลป์ และคอร์สทำ Portfolio สำหรับ CommDe - INDA รวมถึงเตรียมสอบเข้า มหาวิทยาลัย และ สาธิต มศว
เราเปิดสอนตั้งแต่ระดับ Basic จนถึง Advanced เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้มีพื้นฐาน โดยมีทีมผู้สอนที่เชี่ยวชาญ ดูแลใกล้ชิดในบรรยากาศเป็นกันเอง เรียนสนุก เข้าใจง่าย พร้อมพาน้อง ๆ พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
ติดต่อเรา BAK.ING.SO.DA arthouse&studio
LINE@ : @bakingsodastudio
โทร : 092-494-4415
ที่อยู่ : 294/1 อาคารเอเซีย ชั้น 12 ถนนพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400