Blog

สาขาออกแบบนิเทศศิลป์จบมาทำงานอะไรได้บ้าง เป็นคำถามที่พบบ่อยมากจากผู้ปกครอง ออกแบบนิเทศศิลป์ คือ การออกแบบการสื่อสาร มุ่งที่จะให้ความคิด ความเข้าใจของผู้อื่น ให้เหมือนกับ ความคิด ความเข้าใจของเรา หรือทำอย่างไรจึงจะ เอาความรู้สึกนึกคิด ของผู้อื่น ได้โดยให้มีความรู้สึกนึกคิด เช่นเดียวกับเราได้เพราะ ธรรมชาติมนุษย์ได้รับ ข่าวสาร อย่างเดียวกันมา แต่จะมีความเข้าใจ และความรู้สึกนึกคิด แตกต่างกันออกไป การสื่อสาร ที่ดีก็ต้องมีการวางแผน ในที่น Communication Art ก็อาจแปลได้ว่าศิลปะที่ใช้ในการสื่อสารร่วมกันระหว่างบุคคลในสังคมโดยผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญบุคคลที่รวมกันอยู่ในสังคมย่อมต้องมีการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลาทำให้ทุกวันนี้งานนิเทศศิลป์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันในสังคมมากขึ้นและหากดูขอบข่ายและโครงสร้างของงานนิเทศศิลป์แล้วก็จะเห็นชัดเจนว่านิเทศศิลป์มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันนอกเหนือจากปัจจัยอื่นของชีวิตที่มีอยู่เดิมโดยอาชีพที่รองรับนักศึกษาสาขาวิชานี้มีหลากหลายและครอบคลุมสื่อหลายแขนงโดยมีตัวอย่างสาขาอาชีพดังนี้

1. Graphic Designer หรือเรียกว่า "นักออกแบบกราฟฟิก"
นักออกแบบกราฟฟิก ก้อสามารถแยกย่อยออกได้อีกคือ


1.1.Web Graphic Designer ชื่อบอกกันโต้งๆว่าออกแบบเว็บ
นักออกแบบเวบ ก็มีสองลักษณะ คือทำอยู่กับบริษัทที่นักออกแบบเป็นใหญ่ อันนี้ก็จะรุ่ง อย่างเช่นบริษัท Ogilvy One + Ogilvy Interactive ในเครือ Ogilvy เอเยนซี่ยักษ์ใหญ่ แต่ถ้าไปอยู่บริษัทที่โปรแกรมเมอร์เป็นใหญ่ ก็จะไม่รุ่ง งานออกแบบก็จะเละ ไม่เป็นโล้เป็นพาย ชีวิตนักออกแบบจะอับเฉา ยิ่งถ้าไปอยู่ประจำตามเวบธุรกิจ ขายของยิ่งไปกันใหญ่ ยกเว้นว่าจะ สู้จริงๆ ลักษณะการทำงานก็จะออกแบบเวบเพจ และทำสื่อมัลติมีเดีย อินเตอร์แอคทีฟต่างๆ

1.2.Advertising Graphic Designer Graphic Unit เป็นนักออกแบบกราฟฟิกที่ต้องอยู่กับสินค้านานชนิด ทำงานได้ทุกอย่างทุกประเภท ตั้งแต่งานออกแบบ สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ ไดเรกเมล์ บิลบอร์ด ยันออกแบบบูท สินค้าที่ระลึก หรือบรรจุภัณฑ์ อยู่กับบริษัทโฆษณามีข้อดีคือ เงินเดือนเยอะ และข้อสำคัญ มีเวทีให้คุณประกวดงาน ถ้าดังได้รางวัลจาก Cannes กับ D&AD ก็รับรองว่าจะไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเงินเดือนอีกต่อไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่เข้าไปทำด้วยว่า ส่งเสริมเรื่องนี้หรือเปล่า

1.3.Graphic Designer / Artist ประจำ Graphic House
นักออกแบบประจำกราฟฟิกเฮาส์ ซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้ายๆกับทำอยู่กับเอเยนซี่ แต่จะทำอะไรได้อิสระขึ้น ได้ทดลองทำอะไรที่มันส์ๆได้ กราฟฟิกเฮาส์ที่ดังๆก็ได้แก่ Blind, Color Party, G49 ที่เป็นเครือของ A49 ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสาร Art 4D อีกพวกนึงที่อาจจะอยู่ในกลุ่มนี้ได้ ก็ได้แก่นักออกแบบที่อยู่ประจำนิตยสาร ซึ่งที่ดังๆก็ได้แก่ DNA, DAY BED, aDAY, Art 4D หรือเครืออมรินพริ้นติ้ง

1.4.Graphic Designer ประจำบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ
อันนี้ก็จะกร่อยหน่อยนึงถ้าเลือกทำ แต่ถ้าอยู่กับฝรั่งก็เงินเดือนดี แต่ก็ยังแห้วอยู่ดี เพราะพวกเราจะไม่มีทางโตได้ในบริษัทเหล่านี้


2. Art Director
หรือผู้กำกับศิลป์ หรือจะเรียกว่านักออกแบบ นักคิดโฆษณาก็ได้ พวกเขาเหล่านี้อยู่ตามบริษัทโฆษณาชื่อดัง คอยคิดโฆษณาประหลาดๆแหวกแนว เป็นต้นว่าโฆษณา โซเคน หรือหนอนยูนิฟ กรีนที ลักษณะงานคือจะนั่งคิดโฆษณา คิดหนังโฆษณา และจะทำงานร่วมกับก๊อบปี้ไรท์เตอร์ ใครที่เข้าใจว่า เรียนนิเทศถึงจะทำงานคิดโฆษณาก็ให้คิดใหม่นะครับ เพราะพวกนิเทศเค้าจะเป็นก๊อบปี้ไรท์เตอร์ (Copy Writer) คือคิดคำพูดในโฆษณา หรือคิดโฆณาวิทยุ คิดบทพูด

เป็นอาชีพที่เงินดี แต่ทำงานหนักยิ่งกว่าวัวควาย กลับบ้านเลยเที่ยงคืนบ่อยๆ ต้องไปคุมผู้กำกับถ่ายหนัง ดูคนตัดต่ออีกสารพัด หน้าที่กว่าจะออกเป็นโฆษณาเรื่องนึง ที่คนอยากเป็นกันเยอะเพราะเงินเดือน กับมีเวทีให้ประกวดงานโฆษณาอย่าง Cannes กับ D&AD


3. Animator
นักออกแบบอนิเมชั่น ที่ฮิตๆอยากจะเป็นกันเยอะแยะ แต่น้องเอ๋ย รู้ป่าวว่า Nemo เรื่องนึง ใช้คนกี่คน แต่ถ้าชอบก็เอาเลย ถ้าเก่งเมื่อไหร่ รับรองรุ่ง ลักษณะงานก็จะคล้ายงานโฆษณา แต่โหดกว่า ไม่ค่อยได้กลับบ้าน แต่ถ้าเขียนการ์ตูนเก่ง ชอบคอม ก็ลุยเลย ค่าตอบเแทนของอาชีพนี้จัดว่าสูงเอาการ สตูดิโอที่ดังๆก็รู้ๆกันอยู่คือ กันตนา กับ Imaginmax ถ้าเรียนด้านนี้โดยตรงก็ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.รังสิต ภาควิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ดังสุด เครื่องมือพร้อมสุด


4. Motion Graphic Designer
จริงๆ พวกนี้ก็จัดอยู่ในกลุ่มทำเวบกับอนิเมเตอร์ เรียกว่าคนที่จบภาพยนตร์ ลาดกระบังมาจะทำงานได้ตรงกว่า แต่ถ้าเราเรียนแล้วชอบทางนี้ เราก็ทำได้เหมือนกันนะ เฮาส์ที่ดังๆก็ได้แก่ ฟีโนมีนา และแมชชิ่ง สตูดิโอ


5. Environmental Graphic Designer
งงอ่ะดิ ว่าทำอะไรกันหน่ะอาชีพนี้ มีด้วยหรอ ก็นักออกแบบกราฟฟิกในนิทรรศการ หรือป้ายสัญลักษณ์ต่างๆแหละ เป็นต้นว่าป้ายธนาคาร หรือถ้าห้างสักห้างจะเปิดตัว ก็ต้องออกแบบกราฟฟิกในอาคาร และนอกอาคาร นักออกแบบพวกนี้จะทำ interior+exterior graphic อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นวัตถุสามมิติ
อันนี้รวมถึงนักออกแบบนิทรรศการด้วยนะ แต่อาชีพนี้ที่มีสอนตรงๆก็ที่ศิลปกรรมฯ จุฬา ภาควิชานิทรรศการศิลป์ สำหรับบริษัทที่ดังๆก็ได้แก่ Urban Graphic,G49


6. Illustrator / Digital Artist
นักออกแบบภาพประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อหนังสือ นิทาน นิยาย หรือหน้าปกนิตยสาร โดยมากจะทำงานแบบศิลปิน ไม่สังกัดบริษัทไหน โดยมากจะผ่านงานมาแล้วหลายปีและต้องมีทักษะและสไตล์ที่โดดเด่นพอ จึงจะมีงานเรื่อยๆ


7. Visualizer / Digital Artist
คล้ายกับข้อหก แต่จะเน้นมาทางด้านตกแต่งภาพมากกว่า
หรือจะเรียกอีกอย่างว่า Retoucher ก็ได้ ลักษณะการทำงานก็คือจะมีหน้าที่ตกแต่งภาพ ตามที่กราฟฟิก หรืออาร์ตไดเรกเตอร์จากบริษัทโฆษณา กำหนดมา ทำโปสเตอร์หนัง ทำภาพประกอบหนังสือ โดยพวกนี้จะเป็นเซียนเหนือเซียน Photoshop และ Illustrator โดยตรง ค่าตอบแทนจัดว่าสูงมาก แต่ต้องแลกกับการอดหลับอดนอน โดยจะทำงานอยู่นบริษัททำรีทัชที่มีชื่อเสียงได้แก่ Illusion, remix, Zone Retouch เป็นต้น


8. อาชีพนักออกแบบอิสระ หรือเรียกว่า Freelance Designer ซึ่งนักออกแบบที่ทำงานประจำในบริษัทก็ สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ ถ้าคิดว่าเวลานอนมีเยอะเกินไป เรียกว่าถ้าทำได้ก็มีแต่ได้กับได้ครับ นอกจากนี้แล้ว นักออกแบบกราฟฟิก สามารถผันตัวเองไปทำอย่สอื่นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและการออกแบบได้อีก เช่น นักถ่ายภาพ นักออกแบบนิทรรศการและเวที สไตล์ลิสต์ นักออกแบบแฟชั่น นักออกแบบเครื่องประดับ หรีอศิลปินและจิตรกรอิสระเป็นต้น


ที่กล่าวมาก็พอจะสรุปได้คร่าวๆว่า ถ้าพ่อแม่ ลุงป้าน้าอาทวดยายตาย่าเหลนถามว่า จบไป ทำอะไรกิน ก็จะได้สาธยายให้เค้าฟังได้ รวมๆจัดว่าค่าตอบแทนวิชาชีพใช้ได้-ดีมากๆ(ดีจนน่าตกใจ ถ้าได้เป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ดังๆ) ไม่ตกงานแน่ๆ แถมรับงานได้อีก อันนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบของคนที่เรียนสายวิชาชีพ อย่างน้อยก็อุ่นใจว่าสามารถทำงานได้ด้วยตัวคนเดียว เพราะมี Skill ติดตัว

Author


Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Praesent fringilla tellus sit amet molestie rutrum. Sed volutpat orci quis nibh hendrerit fermentum. Aenean et nibh dui. In hac habitasse platea dictumst.